รู้จักหุ้นไทยที่ได้ประโยชน์จากการเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
.
เทรนด์ EV กำลังมาแรงและกลายเป็นว่าไทยยังคงเนื้อหอมในการเป็นฐานผลิตรถยนต์ต่อไป เพราะ 2 แบรนด์ดังจากฝั่งแดนมังกร (BYD) และฝั่งพญาอินทรี (Ford) จะมาตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย !!
.
มาส่องกันดีกว่าครับว่าใครจะได้รับประโยชน์จากการเข้ามาของ 2 เจ้าใหญ่นี้บ้าง
.
จากนโยบายสนับสนุน EV ในไทยนั้น
1. เงินอุดหนุนรถยนต์ และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาท/คัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาท/คัน
2. ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8% เป็น % และรถกระบะเป็น 0%
3. ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40% ถึงปี 2566
4. ยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบรถยนต์ EV จำนวน 9 รายการ เพื่อนำมาผลิตหรือประกอบรถ EV ในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ
.
ผู้ที่ได้ผลประโยชน์แบ่งเป็น
.
1.ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
.
AH – มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง Salisbury Axle เพลาแบบใหม่เพื่อรองรับแก่รถกระบะและรถยนต์ไฟฟ้า นอกเหนือจากนั้นยังมีธุรกิจโชว์รูมขายรถอีกด้วย
.
SAT – ตั้งบริษัทร่วมทุนกับ Tron E (Taiwan) ทำโรงประกอบรถไฟฟ้าการเป็น แพลตฟอร์มระบบรถไฟฟ้า เน้นช่วงล่าง เบื้องต้นก็จะดำเนินการในส่วนของรถบัสไฟฟ้า รถตุ๊กตุ๊ก ไฟฟ้า
.
STANLY – เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ส่องสว่างยานยนต์ ได้แก่ หลอดไฟ ชุดโคมไฟ และแม่พิมพ์
.
NDR – ผลิตยางรถจักรยานต์และทำจักรยานยนต์ไฟฟ้า
.
PJW – ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานยนต์ ล่าสุดลงนาม MOU กับ EA เพื่อการวิจัยและพัฒนาเปลือกแบตเตอรี่ ระบบหล่อเย็นสำหรับแบตเตอรี่ และระบบหล่อเย็นสำหรับมอเตอร์ขับเคลื่อน ด้วยพลาสติกคุณภาพสูงที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถช่วยลดอุณหภูมิการทำงานของแบตเตอร์รี่ให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 20-40 องศาเซลเซียส และทนปฏิกิริยาเคมี
.
HFT – ผลิตยางรถจักรยาน ยางรถจักรยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป
.
SNC – ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับเครื่องปรับอากาศที่ใช้สำหรับยานพาหนะ มีทำให้ TESLA บางส่วนอยู่แล้วด้วย
.
IHL – ผลิตเบาะรถยนต์
.
2.ผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
.
EA – เป็นผู้นำร่องธุรกิจแบตเตอรี่ในประเทศไทย
EA มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ EV คือ ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า,เรือไฟฟ้า และสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า กำลังก่อสร้างโรงงานแบตเตอรีลีเทียมไอออน ลงทุนในธุรกิจแบตเตอรี่ผ่านบริษัทย่อย Amita Taiwan ( EA ถือหุ้นราว 70.0%) ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ประเภท Lithium-ion กำลังการผลิต 400 MWh
.
GPSC – กำลังลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรีลีเทียมไอออนในประเทศไทย เริ่มต้นโครงการนำร่อง (Pilot Project) สร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ 30.0 MWh ด้วยเทคโนโลยี Semi-Solid ซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ในการผลิตแบตเตอรี่ Lithium-ion ของบริษัท 24M Technologies (GPSC ถือหุ้น 18.0%) ที่ลดความซับซ้อนของกระบวนการผลิต และจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนการผลิตลงได้ GPSC ยังได้เข้าถือหุ้น 11.1% ในบริษัท AXXIVA ในประเทศจีน กำลังการผลิตแบตเตอรี่ 1,000 MWh
.
BANPU & BPP – ถือหุ้น 50.0% ในบริษัทย่อย BANPU NEXT ที่ลงทุน 47.0% ในบริษัท Durapower Holdings Pte Ltd., ในประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผลิต และติดตั้งระบบแบตเตอรี่จัดเก็บพลังงานแบบ Lithium-ion เพื่อใช้ทั้งในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และระบบกักเก็บพลังงาน ปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้าทั้งในประเทศจีนและยุโรป โดยโรงงานดังกล่าวสามารถรองรับการผลิตได้ 1,000 MWh
.
3.ผู้ผลิตแผ่นวงจร – แน่นอนว่าถ้ารถยนต์ไฟฟ้ามากลุ่มนี้จะได้ประโยชน์เต็มๆเพราะรถยนต์ไฟฟ้า 1 คันใช้แผงวงจรมากกว่ารถยนต์สันดาป
.
KCE – เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ PCB ซึ่งเป็นแผ่น Epoxy Glass
.
DELTA – ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ พัดลมระบายความร้อน อีเอ็มไอ ฟิลเตอร์ และ โซลินอยด์ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ตัวแปลงกระแสไฟฟ้า DC-DC และ อแดปเตอร์ ธุรกิจโซลูชั่นส์สถานีชาร์จประจุไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
.
HANA – บริการประกอบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบย่อย และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปขนาดเล็ก ได้แก่ การผลิตและประกอบแผงวงจร “PCBA” การผลิตและประกอบและทดสอบวงจร “IC” และการผลิตและประกอบ RFID และ Liquid Crystal on Silicon “LCOS” เป็นต้น
.
4.ผู้ให้บริการสถานีชาร์จ
.
OR – มีเป้าหมายที่จะขยายสถานีชาร์จ EV Station PluZ ให้ครบ 450 แห่งภายในปี 2565 และ 7,000 แห่งภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) อีกทั้งยังมีเครื่องชาร์จสำหรับติดตั้งภายในบ้านพักอาศัย ภายใต้แบรนด์ “Ultra EV” ซึ่งเป็นเครื่องชาร์จรูปแบบ Normal Charge แบบ Wall Box หรือ Home Charge สามารถใช้ได้กับรถยนต์ไฟฟ้าทั้งประเภท PHEV และ BEV
.
BCP – จับมือกับ MG ตั้งสถานีชาร์จในปั๊มบางจาก(MG Super Charge)
.
EA – ดำเนินธุรกิจให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้เครื่องหมายการค้า “EA Anywhere” มีสถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้าตั้งแต่ระบบธรรมดา หรือ AC Charger ไปจนถึงระบบชาร์จเร็ว และทันสมัยที่สุด หรือ DC Ultra-Fast Charge ที่ใช้เวลาเพียง 15-20 นาที
.
FORTH – หนึ่งในผู้นำด้านอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของคนไทย
.
CPALL – ตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าข้างร้าน 7-Eleven
.
5.ผู้ผลิตรถโดยสาร
.
CHO – พัฒนารถ London Taxi ให้เป็นระบบไฟฟ้า
NEX – ผลิตรถบัสและรถบรรทุกไฟฟ้า
ATP30 – ผู้ให้บริการเดินรถรับส่งไม่ประจำทางภายในนิคมอุตสาหกรรม
.
เราจะเห็นแล้วว่าใครจะได้ประโยชน์จากการมาของ EV บ้าง และเราก็สามารถนำไปศึกษาเพื่อลงทุนต่อได้ครับ
.
BottomLiner