Runaway Inflation คืออะไร? ทำไมทุกคนถึงหวาดกลัว
.
ผ่านมาแล้วกับการประชุมของเฟตหรือธนาคารกลางสหรัฐ โดยทางเฟตตัดสินใจที่เพิ่มอัตราดอกเบี้ย0.25% เป็นครั้งแรกในรอบ2ปีในการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ โดยทางประธานธนาคารกลางได้กล่าวว่า “จะไม่ยอมให้เกิด Runaway Inflation เเม้ต้องทำให้ตลาดหุ้นพัง” ซึ่งมาดูกันว่า Runaway inflation นั้นคืออะไร กำลังเกิดขึ้นที่ไหนกัน
.
Runaway Inflation หรือ Hyperinflation
(ที่เรารู้จักกันคือ สภาวะเงินเฟ้อสูงจนไม่สามารถควบคุมได้) โดยปัจจุบันทั่วโลกต่างกังวลกับปัญหาเงินเฟ้อที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะแรงกดดันต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นหลังจากสงครามและการคว่ำบาตร ขณะที่บางประเทศกำลังประสบปัญหาเงินเฟ้อ ก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 อย่างตุรกีและเวเนซุเอลา
.
โดยส่วนใหญ่แล้วสภาวะเงินเฟ้อรุนแรงมีโอกาสเกิดขึ้นได้จาก
1. เศรษฐกิจชะลอตัวรุนแรง
2. ปริมาณการพิมพ์ธนบัตรมีมากเกินไป
3. ธนาคารกลางไม่สามารถรักษาความน่าเชื่อถือของเงินตราไว้ได้
.
กล่าวโดยรวม คือ เป็นประเทศที่มีการขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำกว่าปริมาณการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินในระบบเข้าข่ายจะเกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง
.
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ จึงมักเกิดขึ้นกับประเทศที่เข้าสู่ภาวะสงคราม หรือเกิดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่จนมีการอัดฉีดเงินเข้าระบบในปริมาณมาก
เช่น ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงในประเทศเยอรมนีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 และภาวะเงินเฟ้อรุนแรงในประเทศซิมบับเวจากความล้มเหลวในการเพิ่มศักยภาพการผลิต หลังการปฏิรูปยึดคืนที่ดินจากคนผิวขาว
.
โดยวันนี้เราจะยกตัวอย่างกรณีในเงินเฟ้อรุนแรงของประเทศซิมบับเวในอดีตและเงินเฟ้อในตุรกีที่มีแต่จะแย่ลงเรื่อยๆ
.
ประเทศซิมบับเว เป็นประเทศขนาดกลางซึ่งอยู่ในทวีปแอฟริกาทางใต้ โดยประเทศซิมบับเวมีปัญหาความเลื่อมล่ำระหว่างคนขาวกับคนดำมาตลอด ซึ่งในปี1980 ซิมบับเวก็ได้เอกราชจากอังกฤษและมีการเลือกตั้งขึ้น โดยพรรคZANUPF ได้ชนะขาดลอย ทำให้ โรเบิร์ด มูกาเบ เป็นนายกรัฐมนตรี
.
เนื่องจากโรเบิร์ต มูกาเบ ไม่ชอบอดีตเจ้าอาณานิคมซึ่งเป็นคนขาว จึงมีกฎหมายสำหรับการยึดที่ดินและธุรกิจคนขาวทั้งหมดให้อยู่ในมือคนดำ ซึ่งบางส่วนเป็นการให้คนที่ขาดความสามารถมาบริหารจัดการธุรกิจต่างๆ ทำให้ระบบเศรษฐกิจพังพินาศลง จึงนำไปสู่การกู้เงิน IMF และถึงเมื่อเวลาต้องจ่ายหนี้ ธนาคารกลางกลับพิมเงินดอลลาร์ซิบับเว จำนวนมากเพื่อซื้อเงินดอลลาร์ไปใช้หนี้
.
และตามสูตรเมื่อเกิดการพิมพ์เงินที่มากเกินกว่าผลผลิตที่มี ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เงินเฟ้อในปี2006 พุ่งไปถึง +1,281%
.
แม้กระทั้งปี2008 รัฐบาลยังสั่งธนาคารพิมพ์เงินต่อไป
จนมีการออกธนบัตร100,000,000,000,000 ดอลลาร์ซิบบับเว เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อขนาดไหนก็ไร้ประโยชน์
จนกระทั้ง เดือนเมษายน ปี2009 ได้ประกาศยกเลิกค่าเงินดอลลาร์ซิมบับเว แล้วหันมาใช้เงินต่างประเทศแทน ซึ่งหลังจากนั้นเงินเฟ้อในประเทศก็ค่อยๆดีขึ้น แต่การล่มสลายทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่แย่นั้นยังอยู่ทุกวันนี้
.
ส่วนกรณีประเทศตุรกี ประเทศประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง และมีการกู้ยืมเงินสกุลต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดภาวะวิกฤติขึ้น ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและค่าเงินก็ลดลงทันที ส่งผลให้เงินลีราซึ่งเป็นสกุลเงินประเทศตุรกีอ่อนค่าลงและกดดันให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อเงินลีราอ่อนค่าก็ทำให้แลกเป็นสกุลเงินต่างชาติได้น้อยลง เท่ากับว่ามูลหนี้ต่างประเทศจึงพุ่งขึ้นมหาศาลส่งผลให้เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ตามมา
.
ในส่วนของการทำนโยบายการเงินก็เล่นท่าแปลก เน้นการรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำในช่วงที่เงินเฟ้อกำลังเร่งตัว จึงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทะยานขึ้นเร็วจนเกินควบคุมและเศรษฐกิจตุรกีได้เข้าสู่ภาวะถดถอย (โดยปกติหากเงินเฟ้อเริ่มสูง ธนาคารกลางจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่ตุรกีกลับลดอัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นการกระทำตรงข้าม)
.
โดยทั่วไปแล้วธนาคารกลางจะรักษาระยะห่างกับการเมืองพอสมควรเพื่อให้นโยบายการเงินดูแลผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ แต่ในประเทศที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการส่วนใหญ่ผู้นำมีอำนาจในการสั่งการธนาคารกลาง แน่นอนว่าประธานาธิบดีตุรกีเลือกกดดันให้ลดดอกเบี้ย เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้นเงินเฟ้อจาก20% พุ่งมาอยู่ที่54%
.
และก็เป็นตามสูตรเมื่อเงินลีราเฟ้อหรือด้อยค่า ทำให้คนตุรกีส่วนใหญ่เริ่มถือครองเงินสกุลต่างประเทศกัน ลามไปถึง Cryptocurrency หนักที่สุดเป็นการซื้อ iPhone เก็บเพราะยังรักษามูลค่าได้ดีกว่าธนบัตร
วันนี้จึงขอนำกรณีของตุรกีและซิบับเว มาเป็นกรณีศึกษา เวลาที่เงินเฟ้อเอาไม่อยู่ และ เงินเฟ้อรุนแรงนั้นเป็นอย่างไร
.
BottomLiner