ตั้งเป้าหมายการเงินที่ดี ตามหลัก “SMART”
เริ่มต้นปีใหม่นี้ เพื่อนๆ คนไหนตั้งเป้าหมายการเงินการลงทุนกันแบบไหนบ้าง วันนี้เราจะมาแชร์เทคนิคการเป้าหมายที่ดีที่จะทำให้ประสบความสำเร็จเร็วขึ้นกว่าเดิม ด้วยหลัก “SMART”
.
เพราะเป้าหมายที่ดี ควรจะมีความชัดเจน วัดผลได้ และต้องมีความเป็นไปได้ เพื่อเราจะมีแนวทางให้ไปจุดถึงหมายได้ง่ายขึ้น และเป้าหมายนั้นจะไม่หลุดลอยไปแน่นอน
.
วิธีการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน ตามหลัก SMART มีลักษณะดังนี้
.
1. Specific – มีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง
เป้าหมายที่ตั้งไว้ควรมีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง ไม่กว้างจนเกินไป ระบุรายละเอียด
เช่น จะออมเงินให้ได้ 1 แสนบาท หรือ จะเก็บเงินเพื่อซื้อรถ
.
2. Measurable – วัดผลได้
จะต้องมีการระบุตัวเลขเพื่อให้สามารถวัดผลได้ หรือรู้ว่าถ้าต้องการบรรลุเป้าหมายจะเป็นต้องใช้เงินจำนวนเท่าไร
เช่น เก็บเงินซื้อรถราคา 2 ล้านบาท
.
3. Achievable – ทำสำเร็จได้
รู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และสิ่งที่จะทำต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้
เช่น เก็บเงิน 10% ของเงินเดือน หรือ เก็บเงินเดือนละ 5,000 บาท
.
4. Realistic – เป็นไปได้
เป้าหมายที่เราตั้งไว้ควรจะสมเหตุสมผลภายใต้สถานะทางการเงินและข้อจำกัดต่างๆ ไม่เกินเอื้อม และสามารถเป็นไปได้จริง ต้องไม่ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเราจนเกิดความทุุกข์
.
5. Time-bound – มีกรอบเวลาที่ชัดเจนแน่นอน
กำหนดขอบเขตเวลาที่ชัดเจนในการบรรลุเป้าหมาย เพื่อไม่ให้เป้าหมายการเงินเลื่อนลอยออกไป
เช่น อยากมีรถยนต์ราคา 2 ล้าน ภายใน 3 ปี
.
หลังจากที่เรารู้วิธีการตั้งเป้าหมายแล้ว มาลองตั้งเป้าหมายกันดู เริ่มจากแบ่งเป้าหมายออกเป็น 3 ช่วง คือ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมาย
– เป้าหมายระยะสั้น เช่น อยากมีเงินออมฉุกเฉิน 100,000 บาท ภายใน 10 เดือน
– เป้าหมายระยะกลาง เช่น อยากมีเงินเพื่อดาวน์รถ 300,000 บาท ภายใน 3 ปี
– เป้าหมายระยะยาว เช่น อยากมีเงินใช้หลังเกษียณ เดือนละ 30,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี โดยยังมีเวลาออมเงินอีก 30 ปี
.
ทั้งนี้ การตั้งเป้าหมายตามหลัก SMART ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเป้าหมายอื่นๆ นอกเหนือจากเป้าหมายทางการเงินได้ เช่น การพัฒนาตัวเอง การทำธุรกิจ เป็นต้น
.
TopLiner