TMBCOFควรขายหรือยัง ?
หลายคนที่ลงทุนในกองทุนหุ้นจีนคงน่าจะรู้จักกองทุน TMBCOF กันเป็นอย่างดี เพราะเป็นกองทุนที่โด่งดัง ยอดนิยมมากๆ เมื่อซัก 2-3 ปีที่แล้ว และเชื่อว่าเกือบทุกคนที่ลงทุนกองจีนอย่างน้อยต้องเคยสนใจ หรือมีกองทุนนี้อยู่ในพอร์ตแน่นอน
.
เมื่อหลายปีก่อน กองทุน TMBCOF สามารถทำผลตอบแทนได้ดีเยี่ยมและทำได้มากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มกองทุนหุ้นจีนอีกด้วย ซึ่งก็สร้างความพึงพอใจให้กับนักลงทุนได้ค่อนข้างมาก ตามสไตล์ลงทุนแล้วได้กำไรอะไรก็ดีไปหมด
แต่ทว่า ตั้งแต่ช่วงเดือนก.พ. 2021 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนได้เข้ามาควบคุมและการออกกฎระเบียบต่างๆ ทั้งด้านการควบคุมผูกขาดทางการค้า กฎเกณฑ์การทำธุรกิจ และการควบคุมการนำข้อมูลลูกค้าไปใช้ จึงส่งผลทำให้ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงแรง กองทุนจึงได้รับผลกระทบและปรับตัวลงแรงเช่นกัน
.
โดยหุ้นที่ TMBCOF ลงทุนล้วนได้รับผลกระทบในครั้งนี้ เช่น Tencent Alibaba แต่ที่หนักสุดต้องยกให้หุ้นกลุ่ม Education Tech เช่น TAL Education Group และ New Oriental Education (ตอนนี้ TMBCOF ไม่มีแล้ว) ที่รัฐบาลจีนได้จำกัดชั่วโมงการเรียน และบีบให้ถอนตัวจากตลาดหุ้นกลายเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร จึงส่งผลให้หุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวลงประมาณ 90% จากจุดสูงสุด
เมื่อบริษัทใหญ่ๆโดนกระทบ ทำให้หุ้นกลุ่มการเงินหรือแบงค์ได้รับหางเลขทางลบจากเศรษฐกิจจีนที่โตช้าจึงทำให้รายได้โตช้าไปด้วยเช่นกัน
.
จะเห็นได้ว่าหุ้นส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบหนักล้วนเป็นหุ้นในพอร์ต TMBCOF จึงทำให้ผลตอบแทนของกองทุนนี้ปรับตัวลงเกือบ 40% จากจุดสูงสุดแล้ว (ย้อนหลัง 1 ปี -27% )
.
เรามาดูกันอีกทีว่า Top Holding ของกองนี้มีอะไรกันบ้าง
Tencent – 9.79%
Kweichow Moutai – 8.68%
China Merchants Bank – 5.42%
Alibaba (BABA:NYQ) – 5.00%
NetEase (ADR) – 4.40%
Hong Kong Exchanges and Clearing – 4.38%
Ping An Insurance – 4.29%
CSPC Pharmaceutical – 3.72%
Ping An Bank – 3.46%
Alibaba (9988:HKG) – 3.35%
โดยสัดส่วนของ Top 10 Holding รวมกันสูงถึง 52%
(ข้อมูล ณ วันที่ 11 ม.ค. 2565 อ้างอิงจากกองทุนหลัก คือ UBS (Lux) Equity Fund–China Opportunity)
.
สำหรับคนที่มีกองทุน TMBCOF อยู่ในพอร์ต น่าจะมีคำถามหนึ่งที่คิดวนอยู่เรื่อยๆ ว่า จะเอายังไงกับกองทุนจีนต่อดี? “จะถือต่อ” หรือ “พอแค่นี้”
.
ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนว่า การลงทุนในจีนจะต้องเจอความเสี่ยงจากรัฐบาลจีนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว เนื่องจากลักษณะการบริหารเป็นแบบรัฐชี้ขาด รัฐต้องการอะไรไม่มีใครขวางได้ ดังนั้นคนที่สนใจลงทุนในตลาดจีนจึงควรจะเข้าใจความเสี่ยงนี้
โดยย้อนกลับไปช่วงปี 2016-2019 รัฐบาลจีนสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ TMBCOF ได้ผลตอบแทนดีเพราะหุ้นในพอร์ทได้รับประโยชน์ แต่ตอนนี้ภาพเปลี่ยนไป รัฐบาลไม่ชอบใจการแข่งขันของเอกชนจึงเขามาจัดระเบียบใหม่ กระทบหุ้น Alibaba, Tencent และตัวเล็กตัวน้อยอีกมาก
.
ในระยะสั้นหุ้นจีนจะยังไม่ฟื้นเร็วเพราะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัวและปัจจัยภายในประเทศที่กำลังปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งเอกชนคงไม่กล้าขยับตัวมากนัก
แต่เมื่อไหร่ที่รัฐบาลส่งสัญญานว่ากฎระเบียบใหม่พร้อมแล้ว และจะลดการแทรกแซง เมื่อนั้น TMBCOF จะฟื้นตัวได้ โดยมองว่า Timeline ที่ใกล้ที่สุดจะเป็นการประชุมร่วม 2 สภาในช่วงต้นเดือนมีนาคม
.
สุดท้ายแล้วในระยะยาวหากเราอดทนและรับความผันผวนในระยะสั้นได้ กองทุนหุ้นจีนก็ยังถือว่าน่าสนใจ แม้จะเจอการใช้มาตรการคุมเข้มด้านกฎระเบียบในบางอุตสาหกรรม แต่การปฏิรูปครั้งใหญ่ครั้งนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน (Common prosperity policy) ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เพื่อจัดการความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนให้เท่าเทียมและเสมอภาคมากยิ่งขึ้น เพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระดับ 50 ปีข้างหน้า
.
แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น เราควรกระจายการลงทุนในจีนไปยังธุรกิจที่รัฐบาลชอบ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งยังได้รับการสนับสนุนเต็มที่ทั้งลดภาษีและให้เงินอุดหนุน ทำให้หุ้นหลายตัวใน Ecosystem ได้รับประโยชน์
ส่วนเป็นกองทุนไหนนั้น ดูได้ในคอมเม้นครับ
.
BottomLiner