ทวนหุ้น TSMC ก่อนงบออก
ก่อนอื่นบอกก่อน บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มปิด Exclusive
ตอนนี้มี Free Trial เหลืออีกแค่ 50/500 เท่านั้น สนใจกรอกฟอร์มในเม้นต์ด่วน!!!
.
ช่วงนี้มีสมาชิกเข้ากลุ่ม BottomLiner เพิ่มขึ้นเกือบ 500 คนแล้ว เป็นกำลังใจให้เราทำผลงานดีๆ พัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ขึ้นอีกครับ
.
เข้าเดือนเมษาจะเป็นช่วงประกาศงบไตรมาส 1 ของหุ้นแล้ว โดยเราต้องเปิดหัวด้วย TSMC เสมอตามคิวประกาศงบวันที่ 14 เมษา มักตรงกับวันหยุดยาวของไทยพอดี
โพสนี้เลยจะขอคาดการณ์อนาคตบริษัทล่วงหน้าก่อนเลย
.
อย่างแรกเราขอทวนข้อมูลพื้นฐานบริษัท TSMC ให้คนที่ยังไม่รู้กันก่อน
ใครรู้จักอยู่แล้วสามารถข้ามไปวรรคล่างๆได้เลยครับ
.
TSMC ย่อมาจาก Taiwan Semiconductor Manufacturing Company ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1987 ด้วยเหตุผลคล้ายกับผู้ผลิตชิพอื่นในเอเชีย คือรัฐบาลต้องการดึงการผลิตสินค้าไฮเทคเข้ามาตั้งในประเทศ มีการให้นโยบายหนุนหลัง ลด แลก แจก แถม เพื่อหวังแข่งขันชนะต่างประเทศ
.
ผู้ก่อตั้งชื่อ Morris Chang ด้วยความคิดสุดล้ำเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม ด้วยกลยุทธ์สร้างธุรกิจเป็นโรงงานผลิตชิพ OEM อย่างเดียว ไม่ผลิตชิพแข่งกับลูกค้า ช่วยให้ TSMC รับออเดอร์ได้จากทุกบริษัทในโลก
นับเฉพาะเบอร์ใหญ่ก็ล้นนิ้วมือแล้ว เช่น AMD, Nvidia, Apple, Qualcomm, Texas Instrument
ซึ่งการโฟกัสแค่ธุรกิจโรงงานทำให้ TSMC ทุ่มงบ R&D เน้นที่ตัวโรงงานเท่านั้น
กลับกัน Intel ต้องแบ่งงบเป็น 2 ก้อน ส่วนโรงงานสู้ TSMC ส่วนออกแบบสู้ AMD
และผ่านมาจากปี 1987 ถึงปี 2022 เราเห็นแล้วว่ากลยุทธ์ TSMC ถูกต้อง
.
ธุรกิจชิพจึงรู้จักศัพท์ใหม่ทางธุรกิจ
Foundry = โรงงานชิพรับผลิต OEM
Fabless = บริษัทออกแบบอย่างเดียว ไม่มีโรงงานผลิต (AMD, Nvidia, Apple เข้าเกณฑ์)
Integrated device manufacturer (IDM) = ทั้งผลิตและออกแบบ (Intel นั่นเอง)
.
TSMC ยังมียอดขายส่วนใหญ่มาจากชิพมือถือ ชิพคอมพิวเตอร์ data center
จะเห็นว่าปีที่แล้วมีรายได้จากมือถือ 44% และ HPC (ชิพคอม+data center) 37% โดยลูกค้าหลักก็ล้วนเป็นบริษัทใหญ่ชื่อคุ้นหู
Apple, Qualcomm ในส่วนมือถือ
AMD, Nvidia ในกลุ่มชิพคอม ล่าสุดได้ Intel มาเป็นลูกค้าด้วย
.
โรงงานผลิตชิพที่มีเทคโนโลยีรุ่นล่าสุด 5nm มีเพียง TSMC กับ Samsung เท่านั้น ดังนั้นทั้งคู่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ แต่ TSMC ดูจะนำอยู่ 1 ช่วงตัวเพราะวางตัวเป็น OEM ไม่มีสินค้าแบรนด์ตัวเอง ซึ่ง Apple, Qualcomm จะมั่นใจส่งงานให้มากกว่า
โดยวัดเฉพาะชิพรุ่นไฮเทคสุด ส่วนแบ่งการตลาด TSMC / Samsung อยู่ประมาณ 70/30 ห่างกันพอสมควร
.
ส่วนอันดับรองลงเช่น Intel ดูแล้วจะยิ่งตามหลังห่างออกไปเรื่อยๆ เพราะต้นทุนการสร้างโรงงานใหม่แพงเกินจะลงทุนแข่งผู้นำตลาด แถมสร้างมาอาจผลิตได้ไม่สำเร็จเสียเงินฟรี (Intel กำลังเจอปัญหานี้มานานหลายปี)
.
ขณะที่ฝั่งจีนกำลังกดสูตรช่วยดัน SMIC และผู้ผลิตในประเทศเต็มที่ แต่ gap ช่องว่างยังห่างจาก TSMC ราว 6-10 ปี เพราะแม้จะเร่งแค่ไหนแต่ถูกสหรัฐคอยเตะตัดขาแบนนู้นนี้บ่อยๆ
.
#รถยนต์ไฟฟ้าและระบบไร้คนขับเป็นอนาคตของหุ้นชิพ
เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าและระบบไร้คนขับต้องการชิพเพิ่มขึ้นมหาศาล เปรียบเหมือนแปลงรถบ้านๆ คันนึงให้กลายเป็นตู้ data center ติดล้อ เพราะรถขับเองได้ต้องมีชิพแกนกลางคำนวณสิ่งกีดขวางรอบตัว และจำเป็นต้องกินไฟน้อยไม่งั้นแล้วก็จะขับได้ไม่ไกล
.
ทางด้านเซนเซอร์รอบตัวรถต้องติดตั้งเพิ่มขึ้นมาก
กล้องรอบตัว
Radar วัดระยะ
Lidar วัดระยะเช่นกัน แต่รูปแบบใช้งานต่าง
เซนเซอร์ทุกอันมาพร้อมกับอย่างน้อยชิพ 1 อันภายใน ยกตัวอย่าง Tesla ใช้กล้อง 8 ตัว เท่ากับมีชิพเพิ่มขึ้นเยอะมากจากรถบนถนนทุกวันนี้
.
เทรนด์ Deglobalization ดึงโรงงานผลิตเข้ามาตั้งในประเทศสหรัฐ จีน EU ทำให้ โรงงานชิพจะถูกสร้างขึ้นใหม่เยอะในช่วง 3 ปี โดย TSMC ในฐานะผู่ผลิตที่มีเทคโนโลยีดีที่สุดค่อนข้างได้เปรียบทีเดียว สามารถเรียกร้องข้อเสนอดีๆ ก่อนเข้าไปตั้งโรงงาน
.
#Digitalถูกเร่งตัวหลังไวรัสผ่าน
การทำงาน การใช้ชีวิตถูกผูกเข้ากับเทคโนโลยีมากขึ้น และทุกเทคโนโลยีมีพื้นฐานจากชิพประมวลผล ล้วนดันให้ Demand ของชิพเพิ่มขึ้นอีกมาก ถึงขนาดว่า TSMC ต้องประกาศลงทุนสร้างโรงงาน 100,000 ล้านดอลลาร์ เป็นเวลา 3 ปี
.
1.กำลังการผลิตจริงน้อยกว่าที่คาด
“ถ้ากำลังการผลิตน้อยกว่าคาดจะกระทบงบการเงินหนัก” เรื่องนี้เป็นความเสี่ยงหลักของหุ้นโรงงานเลย เพราะค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็น fixed cost ดังนั้นการจะสร้างโรงงานใหม่ TSMC ต้องรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าในช่วงชิพขาดแบบนี้คงไม่มีปัญหา แต่สถานการณ์ในอนาคตมีโอกาสจะเปลี่ยนไปได้เสมอ โดยเฉพาะถ้าเร่งสร้างโรงงานใหม่มากเกินจำเป็น (ช่วงนี้ถูกสหรัฐและ EU บีบให้สร้างด้วย)
.
2.จีนโมโห
อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องความเสี่ยงกับจีน เพราะ TSMC มีโรงงานเกือบทั้งหมดอยู่ที่ไต้หวัน ซึ่งถ้าความขัดแย้งภูมิภาคนั้นบานปลายกลายเป็นการรบจริง ย่อมกระทบบริษัทรุนแรง
.
#หุ้นชิพผ่านจุดพีคไปเมื่อปี2021
ใครตามหุ้น TSMC ใหม่ๆ อาจจะงง รายได้โตดี 20-30% แต่หุ้นไม่ขึ้น
ตรงนี้เป็นเพราะหุ้นชิพจะขึ้นแรงตอน Cycle ขาขึ้น หรือการฟื้นตัวหลังวิกฤต ซึ่งรอบล่าสุดเริ่มต้นจากช่วงไวรัสระบาดต้นปี 2020 ที่สินค้า digital มีความต้องการมากขึ้น มาจนถึงกลางปี 2021 ที่ข่าวชิพ shortage เล่นใหญ่ ช่วยให้ TSMC ขึ้นราคาขายได้มาก และสร้างโรงงานใหม่เพิ่มกำลังการผลิต
หลังจากนั้นชิพ shortage ดีขึ้น จึงเหมือนหุ้นผ่านจุดพีคของการขึ้นราคาและกำลังการผลิตนั่นเอง
.
เรามองว่าปี 2022 หุ้น TSMC คงไม่ได้ปรับตัวหวือหวาเหมือนช่วงปี 2020 แต่ยังเป็นหนึ่งในหุ้นที่น่าสนใจลงทุนระยะยาวเหมือนเดิม ด้วยหลักง่ายๆให้ซื้อเยอะตอนราคาตก และซื้อน้อยหรือหยุดซื้อตอนขึ้นไปแรงๆ เป็นวิธีเล่นไปกับ Cycle หุ้นชิพแบบง่ายที่สุด
.
BottomLiner