รู้หรือไม่? ว่าเราถูกหลอกด้วยแผนที่กว่า 500 ปี!
โพสต์ตาสว่าง…
รู้หรือไม่? ว่าเราถูกหลอกด้วยแผนที่กว่า 500 ปี!
.
ในนี้มีใครไม่เคยเห็นแผนที่โลก ขอให้ยกมือขึ้น…
น่าจะไม่มี หรือถึงมีก็น่าน้อยมาก
.
แล้วทุกคนรู้หรือไม่ว่า แผนที่โลกที่เราเห็นทุกวันนี้มันผิด?
คนส่วนใหญ่ไม่รู้ เข้าใจผิดและโดนหลอกกันมาร่วม 500 ปี !!
.
แผนที่ ที่เห็นกันบ่อย ๆ คือตัวเดียวกับที่ใช้ใน google map
เรียกว่าแผนที่แบบ Mercator Projection
ถูกสร้างโดย เจอราร์ดัส เมอเคเตอร์ (Gerardus Mercator) นักภูมิศาสตร์ชาว Flemish (บริเวณเบลเยี่ยมในปัจจุบัน) ในปี 1569
.
เหตุผลที่มันยังได้รับความนิยมปัจจุบันเพราะมันเป็นแผนที่ ๆ บ่งบอกทิศทางได้ถูกต้อง แม่นยำ
คือด้านบนแผนที่คือทิศเหนือ ด้านล่างของแผนที่คือทิศใต้
เมือกางแผนที่ออกมาจะรู้ทิศทางการไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในโลกได้อย่างแม่นยำ
(แผนที่อื่น ๆ จะมีหน้าตาแปลก ๆ เหมือนเปลือกส้มบ้าง จิ๊กซอว์บ้าง บางแบบก็ปูด ๆ นูน ๆ ตรงกลางไม่ใช่ 2D ซะทีเดียว)
.
แต่ถ้าสังเกตดี ๆ แผนที่ Mercator ที่เราเห็นบ่อย ๆ มันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ซึ่งถ้าเราจับด้านซ้ายกับขวามาชนกันจะเป็นรูปทรงกระบอก…
อ่าว…แต่โลกเราเป็นทรงกลมไม่ใช่หรอ?
แล้วทำไมแผนที่กลายเป็นทรงกระบอก?
.
หากคุณเริ่มเอะใจประมาณนี้ คุณมาถูกทางแล้วครับ
.
แผนที่ของ Mercator นั้นใช้สูตรคำนวนเพื่อยืดพื้นผิวโลกออกให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
โดนพื้นที่ ที่ใกล้ขั้วโลกจะถูกขยายมากกว่าพื้นที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร
.
นอกจากนี้ยังชดเชยความเฉียงของแกนโลกโดยการดึงพื้นที่ซีกบนของโลกมากกว่าพื้นที่ซีกล่าง
.
การปรับดังกล่าวจะทำให้ทิศทางในการเดินทางนั้นถูกต้อง
ซึ่งแลกมาด้วยขนาดประเทศต่าง ๆ ที่ผิดเพี้ยนจากความจริงอย่างมาก
โดยเฉพาะพื้นที่ซีกโลกด้านบน อย่างอเมริกา ยุโรป รัสเซีย จีน
.
ยกตัวอย่างเช่น
หากเรามองรัสเซียและแคนาดาจาก แผนที่แบบ Mercator จะรู้สึกว่ามันใหญ่มาก
ซึ่งในแผนที่เมื่อนำรัสเซียและแคนาดารวมกันจะกินพื้นที่ประมาณ 25% ของพื้นดินโลกทั้งหมด
แต่ในพื้นที่จริงเมื่อนำพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศมารวมกันจะคิดเป็นสัดส่วนเพียง 5% ของพื้นดินทั้งหมดเท่านั้น !
.
หรืออย่าง greenland ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดโลก ถ้าเรามองผ่านแผนที่ Mercator จะมีขนาดพอ ๆ กับลาตินอเมริกา หรือแอฟริกาเลยทีเดียว
แต่ในความเป็นจริงมันมีขนาดเล็กกว่าถึง 14 เท่า!
.
ในความจริง ทวีปแอฟริกาใหญ่มาก ๆ !
โดยเมื่อนำประเทศที่มีขนาดใหญ่ ๆ ที่เราคุ้นเคยในโลกเช่น
อเมริกา จีน อินเดีย และยุโรปมารวมกัน จะมีขนาดใกล้เคียงทวีปแอฟริกา!!
(ดูภาพประกอบได้ในคอมเมนต์)
.
ไม่ใช่แค่เรื่องทิศทางที่ถูกต้องอย่างเดียวที่ทำให้แผนที่ Mercator ได้รับความนิยมถึงขนาดติดอยู่บนฝากำแพงโรงเรียนทั่วโลก
คำตอบนั้นไม่ยาก…ให้ลองนึกภาพ
หากเราเป็นประเทศที่ถูกล่าอาณานิคม…
ความรู้สึกคงแตกต่างอย่างมาก หากรู้ว่าเราถูกประเทศจิ๋ว ๆ ตรงมุมแผนที่โลกกดขี่
และการลุกฮือขึ้นต่อสู้คงเป็นทางเลือกที่หลาย ๆ ประเทศอยากทำ
.
และด้วยความที่แผนที่นี้ถูกสร้างขึ้นในยุคล่าอาณานิคม (1492-1763)
เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าแผนที่นี้มีความเกี่ยวข้องกับอำนาจ
และเป็นหนึ่งในชุดความรู้ที่ยุคล่าอาณานิคมฝากไว้ให้โลกจนปัจจุบัน
.
มีการพยายามแทนที่แผนที่แบบ Mercator แล้วในปัจจุบัน
ผู้คนหันมาใช้แผนที่แบบ Gall-Peters Projection กันมากขึ้น ซึ่งแผนที่ดังกล่าวยังคงข้อดีเรื่องทิศทาง แต่มีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงความจริงมากกว่า
โดนแผนที่ดังกล่าวได้รับการผลักดันจาก UNESCO ให้ใช้เป็นมาตรฐานและถูกใช้เป็นในสื่อการสอนทั่วสหราชอาณาจักร และบางรัฐในสหรัฐเช่น Massachusette ตั้งแต่ ปี 2017 เป็นต้นมา (หลังจากใช้ Mercator มาตั้งแต่ปี 1569)
.
เรื่องน่าเศร้าคือผู้คนส่วนใหญ่ยังชินกับแผนที่แบบ Mercator มากกว่าอยู่ดี
และทำให้ปัจจุบันแผนที่แบบ Mercator ยังเป็นแผนที่หลักที่ใช้ในโลก
.