ลดความเสี่ยง เพิ่มผลตอบแทน ด้วยกลยุทธ์ Buy & Hedge
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความกังวลและสภาพจิตใจมีผลต่อการตัดสินใจต่าง ๆ ในการลงทุน
เช่นในช่วงที่หุ้นลงทุกวัน การจะซื้อหุ้นเพิ่มก็คงลำบากใจ / ช่วงหุ้นขึ้นเยอะ ๆ จะถือยาวก็กลัวกำไรหด
หรืออย่างในช่วงนี้ก็มีสถานการณ์น่ากังวลเกิดขึ้นทั่วโลกเต็มไปหมด
เราคิดว่า Buy and Hedge คือคำตอบที่ช่วยให้นักลงทุนทุกคนลงทุนกันสบายใจได้มากขึ้น
และทำให้เราลงทุนได้ต่อเนื่องไม่ว่าจะสภาพตลาดไหน
นอกจากนี้ระยะยาวก็สามารถทำให้เราชนะตลาดได้ง่ายขึ้น
.
#ลดความเสียหายแล้วทำไมผลตอบแทนเพิ่ม?
เคยมีคนเก็บสถิติในช่วง 2001-2009 แล้วพบว่าหากเราสามารถหลบวันที่ผลตอบแทนแย่ที่สุด 10 วันในตลาด จะทำให้ผลตอบแทนต่างจากการรวมวันที่ผลตอบแทนแย่ที่สุด 10 วัน
ถึง+132% กับ +13% เลยทีเดียว
ซึ่งมาจากธรรมชาติของการทบต้นของผลตอบแทน เมื่อการขาดทุนระหว่างทางลดลง จะทำให้การทบต้นแสดงผลได้รวดเร็วขึ้น
นอกจากนี้การ Hedge ยังทำให้เรามีเงินสด สภาพคล่องดีกว่าการซื้อและถือไว้เฉย ๆ (Buy and Hold) หากราคาทรัพย์สินลดลงมาจริง เงินจากการ Hedging Position +กำไร จะทำให้เรามีเงินเพิ่มขึ้นในการช้อปปิ้งซื้อทรัพย์สินต่าง ๆ
.
#หลักการHedge
โดยหลัก ๆ การ Hedge นั้นสามารถทำได้กับทั้งการลงทุนระยะสั้นไปจนถึงระยาว
จุดประสงค์จะเน้นไปที่ลดความเสียหายในการขาดทุนเมื่อราคาสินทรัพย์เคลื่อนไหวตรงกันข้ามกับผลประโยชน์ของเรา
(ที่เขียนแบบนี้เพราะสามารถใช้ป้องกันราคาสินทรัพย์ขึ้นและลง สมมุติในกรณีที่ธุรกิจของเรามีกำไรที่น้อยลงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เราสามารถซื้อ Future นำ้มันเพื่อทำกำไรจากน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
หรือเมื่อหุ้นตก เราก็ถือ hedge ด้วยการ short หุ้น ซื้อ Option เพื่อป้องกันความเสี่ยงได้เป็นต้น)
.
Buy and Hedge แปลไทยแล้วจะแปลก ๆ (จริง ๆ การซื้อประกันให้การลงทุนนั้นแหละ ไม่ต่างจากการที่เรามีประกันบ้าน ประกันรถ)
เหนือสิ่งอื่นใดผลประโยชน์ของการ hedge ทำให้สภาพจิตใจค่อนข้างดี ตัดสินใจได้ตามจริงมากขึ้น ช่วยลด bias ทำให้ประสิทธิภาพในการลงทุนสูงขึ้น
เปรียบเทียบการ hedge เหมือนการขับรถที่ติดตั้งเบรกไว้
มันสบายใจกว่ารถที่ไม่มีเบรกเป็นไหน ๆ เพราะเรารู้ว่าเมื่อข้างหน้ามี่สิ่งกีดขวางหรืออันตราย เราสามารถลดความเร็วหรือความเสียหายลงได้ (กรณีเกิดอุบัติเหตุ) ในกรณีที่เราเห็นว่าถนนข้างหน้าวิ่งสบายเราก็ปล่อยเบรก เพื่อให้รถวิ่งเร็วได้เต็มที่
.
#ขั้นตอนพื้นฐานในการHedgeพอร์ต
– ติดตาม บริหารให้พอร์ตของเรามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว (Correlation) ของกลุ่มหุ้นหรือ index เหตุผลที่จำเป็นต้องมี Collelation เพราะจะทำให้เรารู้ว่าควร Hedge ด้วยน้ำหนักเท่าไหร่ จะป้องกันความเสียหายเท่าไหร่ของความเสียหายที่น่าจะเกิด เพราะอีกด้านหนึ่งของการ Hedge คือเรามีค่าใช้จ่ายด้วย !
.
– เมื่อสินทรัพย์ที่เราถือ มีความเสี่ยง หรืออยู่ในช่วงที่ Fundamental / Technical / Sentiment อ่อนแอ
เราสามารถซื้อ Hedge จากเครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เช่น หุ้น(ทำได้แต่จะยาก ไม่เหมาะกับมือใหม่), Option (ไม่เหมาะกับมือใหม่), Future, ETF-Inverted ETF ซึ่งเดี๋ยวเราจะมาบอกข้อดี-ข้อเสียของแต่ละเครื่องมือคร่าว ๆ กันต่อท้ายบทความ
.
– ติดตามผลลัพธ์ และคอยปรับเปลี่ยนการ Hedge ตามมุมมองการลงทุนของเราที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วง
(เหมือนลด/เพิ่มแรงเบรกรถ ตามมุมมองของเราที่มีต่อสภาพถนน)
#ข้อดีของการHedge
– ทำให้ความเสี่ยงในการลงทุนต่ำลง ทั้งความเสี่ยงเฉพาะบริษัท และความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก
– เพิ่มโอกาสในการกำไรในทุกสภาพตลาด รวมถึงโอกาสในการเอาชนะตลาดในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน
-เพิ่มความยืดหยุนในการบริหารพอร์ตลงทุน สามารถจำกัดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพอร์ตลงทุนได้ตามที่เราต้องการ
#ข้อเสียของการHedge
– ลดกำไรลงจากที่ควรจะได้รับ ถ้าเปรียบกำไรเหมือนความเร็วลด Hedge ที่เป็นเหมือนเบรกก็จะคอยหักล้างให้ความเร็วรถลดลง ดังนั้นต้องไม่ลืมปรับการ Hedge ให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับมุมมองการลงทุน
-การ Hedge เพิ่มความซับซ้อนในการลงทุน จึงไม่เหมาะกับมือใหม่ รวมถึงต้องใช้เวลาและแรงกายที่มากขึ้นในการลงทุน
– ในอีกด้านหนึ่งการ Hedge มีค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมที่อาจทำให้ผลตอบแทนโดยรวมลดลง
#ซื้ออะไรเพื่อHedge #ต่างกันอย่างไร?
ในไทยจริง ๆ จะใช้ได้แค่ ETF/ Inverted ETF เพียงอย่างเดียว แต่สำหรับโบรกต่างประเทศจริง ๆ มีหลายวิธีและรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน แต่พอสรุปความแตกต่างคร่าว ๆ ได้ตามนี้
—–
หุ้น
ด้วยวิธีการยืมหุ้นมา Short ขายออกไปเมื่อราคาสูงและขายคืนในราคาที่ต่ำกว่าเพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง
ข้อดี
– มีสภาพคล่องที่ค่อนข้างสูง
– ค่าความเสื่อมเวลา (time decay) ต่ำ
– ค่าธรรมเนียมไม่แพง
– การคำนวน Exposure ที่มีต่อหุ้นในพอร์ตค่อนข้างง่าย
.
ข้อเสีย
– รองรับแค่ Hedge หุ้น ไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงจากทรัพย์สินอื่น ๆ ได้
– Risk/Reward ค่อนข้างต่ำ
-ใช้ Leverage ได้ไม่มาก ต้องใช้ Margin เพื่อค้ำประกันค่อนข้างสูงเทียบเครื่องมือตัวอื่น
– มีความเสี่ยงเฉพาะในรายบริษัทที่อาจเกิดขึ้น เช่น มีข่าวออกมาแล้วทำให้ราคาผันผวนอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อ position ได้
– ต้องทำการ Hedge ในหุ้นที่หลายตัวเพื่อคุมความเสียหายโดยรวมของพอร์ต
– จึงทำให้ใช้เวลาในการจัดการค่อนข้างมาก
—–
Future
การทำสัญญาซื้อ- ขายล่วงหน้าสามารถทำให้ในหลากหลายสินทรัพย์
ข้อดี
– สภาพคล่องสูง
– มีสินทรัพย์ที่หลากหลายที่สุดในทุก product
– ใช้ Leverage ได้สูงกว่า หุ้น และ ETF
.
ข้อเสีย
– สัญญามีวันหมดอายุ จำเป็นต้องต่ออายุสัญญา (rolling)ในกรณีต้องการ Hedge ต่อ
– ซึ่งการต่ออายุนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
– มีความซับซ้อน และความผันผวนไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งทำให้การคำนวน exposure ที่มีผลต่อพอร์ตมีความยาก
– ต้องทำการ Hedge ในหุ้นที่หลายตัวเพื่อคุมความเสียหายโดยรวมของพอร์ต
– จึงทำให้ใช้เวลาในการจัดการค่อนข้างมาก
—–
ETF, Inverted ETF (Exchange-Traded Fund) (เหมาะกับมือใหม่)
การใช้ ETF จะมีลักษณะคล้าย ๆ การถือกองทุนที่เทรดได้ในเวลาทำการของตลาด เหมือนการซื้อหุ้นเป็นกลุ่มที่จัดไว้
– มี ETF ในหลากหลายทรัพย์สิน
– มีการกระจายความเสี่ยงให้แล้ว
– หา correlation กับพอร์ตลงทุนได้ง่าย
– คำนวน Exposure ที่ส่งผลต่อพอร์ตง่าย
– ค่าธรรมเนียมต่ำ
– ไม่ต้องทำการขออนุญาตเพิ่มเติม (ในบางโบรก Inverted ETF ต้องขออนุญาตเพิ่ม)
– สะดวกด้วยการซื้อเพียงไม่กี่ ETF เพียงพอที่คุมความเสียหายโดยรวมของพอร์ตได้ (จำเป็นต้องรู้ว่าพอร์ตลงทุนเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับกลุ่มไหน)
.
ข้อเสีย
– การลดความเสียหายจากความเสี่ยงเฉพาะบริษัท ทำได้ค่อนข้างยาก (ยกตัวอย่างหุ้นที่เราถือเกิดการเทขายอย่างรุนแรงจากปัจจัยภายใน การซื้อ Hedge ผ่าน ETF อาจไม่สามารถป้องกันความเสียหายได้เพียงพอ)
– Risk/ Reward ไม่สูง โดยทั่วไป ETF จะมี Leverage อยู่ที่ 1-3 เท่า เช่นเราใช้เงินสด 10% ซื้อ Inverted ETF จะสามารถกันความเสียหายสูงสุดได้ 30% เท่านั้น (Leverage 3 เท่า)
– ความหลากหลายของ ETF อาจไม่พอ ครอบคลุมความเสี่ยงในทุกสินทรัพย์ได้
—–
Option
คือสัญญาที่ตกลงเพื่อจะซื้อ/ขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนดในอนาคต โดยนักลงทุนสามารถเป็นได้ทั้งผู้ซื้อ และออกสัญญา โดยราคาของสัญญานั้นจะเปลี่ยนไปตาม Option Greeks (ซึ่งมีความซับซ้อน และหากนักลงทุนยังไม่เข้าใจตรงนี้ คิดว่ายังไม่เหมาะกับการซื้อ Option)
ข้อดี
– สามารถป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย
– มีกลยุทธ์ที่หลากหลาย Risk/ Reward ยืดหยุ่นตามกลยุทธ์
– ให้ Leverage ที่คุ้มค่า หากเทียบกับเงินทุน
– ทำกำไรได้ทุกสภาพตลาดแม้แต่ตลาด Sideway หรือตลาดที่ผันผวนสูงมาก ๆ
– มีการนำ ETF มาทำเป็น option (เฉพาะบาง ETF) ทำให้การซื้อ Option นั้นนำข้อดีของ ETF มาต่อยอดได้
.
ข้อเสีย
– มีความซับซ้อนสูงสุดในทุกทรัพย์สิน ไม่เหมาะกับมือใหม่อย่างยิ่ง (ควรเข้าใจ option greeks อย่างคล่องแคล่วก่อนเริ่มลงทุน)
– มีความซับซ้อน และความผันผวนไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งทำให้การคำนวน exposure ที่มีผลต่อพอร์ตมีความยาก
– ต้องทำการ Hedge ในหุ้นที่หลายตัวเพื่อคุมความเสียหายโดยรวมของพอร์ต (กรณีซื้อ Option รายตัว)
– ใช้เวลาในการจัดการค่อนข้างมาก
– สัญญามีวันหมดอายุ จำเป็นต้องต่ออายุสัญญา (rolling)ในกรณีต้องการ Hedge ต่อ
– ซึ่งการต่ออายุนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
=====
#สรุป
การ Hedge สามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับมุมมอง และความต้องการของผู้ลงทุน ไม่มีวิธีไหนเป็นวิธีที่ดีที่สุดตายตัว ขึ้นอยู่กับสถาณการณ์
ข้อสำคัญ การ Hedge นั้นแม้จะเป็นสิ่งที่ทำเพื่อลดความเสี่ยง แต่หากไม่มีความรู้พื้นฐานลงทุนเลย การ Hedge อาจกลายเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเสียเอง (เพราะความเสี่ยงที่สุดคือการลงทุนโดยไม่มีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่ลงทุน) ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนและเทรดเดอร์ จำเป็นต้องมีความรู้ทั้ง fundamental, technical, risk management, money management และโมเดลประเมินความเสี่ยงอื่น ๆ เพื่อเข้าใจและช่วยลดความเสี่ยง
.
BottomLiner