สรุปมุมมองของ Baillie Gifford ธุรกิจที่จะได้ประโยชน์ในยุคเปลี่ยนถ่ายจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานสะอาด
การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดจะช่วยลดโลกร้อนลงได้ ซึ่งไม่เหมือนกับพลังงานเชื้อเพลิงอย่างน้ำมัน ที่เมื่อใช้แล้วจะไปทำลายชั้นบรรยากาศของโลก และถ้าเรามองในมุมของการลงทุนดู ตอนนี้พลังงานสะอาดยังใช้ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าด้วย เช่น แสง หรือ ลม ที่สามารถใช้ได้ฟรีๆ ไม่ต้องผ่านกระบวนซับซ้อนเหมือนน้ำมันและก๊าซ เป็นต้น
.
พลังงานลมจากกังหันลมนอกชายฝั่ง (Offshore Wind)
ปัจจุบันการสร้างกังหันลมนอกชายฝั่งไม่สามารถสร้างได้ไกลจากฝั่งมากนัก และมีต้นทุนในการติดตั้งและดูแล สูงกว่าการสร้างบนฝั่ง แต่ถึงอย่างนั้นก็สามารถแลกกับข้อดีที่ว่า ลมในทะเลจะพัดแรงกว่า และสามารถสร้างกังหันให้ใหญ่แค่ไหนก็ได้ ซึ่งยิ่งขนาดใหญ่จะยิ่งผลิตไฟฟ้าได้มาก รวมถึงไม่ต้องกังวลปัญหาคนรอบพื้นที่การสร้างอีกด้วย
.
แต่ต้องบอกว่าธุรกิจนี้อยู่ยาก เพราะการพยายามสร้างกังหันลมให้ใหญ่ขึ้น จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและงบประมาณที่สูงขึ้นตาม ปัจจุบันมีผู้เล่นที่เหลือรอดหรือสามารถสร้างกังหันขนาดใหญ่ในตลาดนี้อยู่ไม่มาก ยกตัวอย่างเช่น Orsted (CPH: DNNGY) เจ้าของ Hornsea One Project ที่สร้างกังหันลมห่างจากนอกชายฝั่งอังกฤษ 75 ไมล์ ซึ่งมีขนาดสูงกว่ากังหันบนฝั่งกว่า 2 เท่า โดยโครงการนี้สามารถผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนได้มากกว่า 1 ล้านครัวเรือน
นอกจาก Orsted บริษัทอื่นๆที่ได้ประโยชน์จะเทรนด์พลังงานสะอาดก็มี Vestas (CPH: VWS), Siemens Gamesa (BME: SGRE) และ Xinjiang Goldwind (SZSE: 002202) เป็นต้น
.
พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar)
ตั้งแต่ปี 2004 กำลังการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก 20 เดือน ซึ่งทุกครั้งที่กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นสองเท่า ราคาแผง Solar มักจะมีแนวโน้มลดลง 20% ด้วย สิ่งนี้เรียกว่า Swanson Law ซึ่งได้ตั้งชื่อตาม Richard Swanson ผู้ก่อตั้ง SunPower (NASDAQ: SPWR) ที่เขาสังเกตเจอความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยถ้ากฎที่ว่ายังใช้ได้ ราคาที่จะลดลงต่อจากนี้อาจเกิดจากที่หลายบริษัทพยายามจัดหาวัตถุดิบสำหรับผลิตแผง Solar ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง
ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในยุคที่การผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ใช้ต้นทุนต่ำกว่าการผลิตพลังงานจากถ่านหินไปแล้ว ส่งผลให้หลายๆบริษัทพลังงานทยอยลดใช้ถ่านหินกันไป
นอกจากนี้ราคาน้ำมันและก๊าซที่สูงขึ้นก็ยิ่งผลักดันให้ทั้งภาคครัวเรือนและธุรกิจเริ่มหันมาติดแผง Solar กันมากขึ้น
.
ทางด้านการผลิตพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์นั้นสามารถคาดการณ์ต้นทุนการผลิตได้ล่วงหน้า และราคาจะไม่ผันผวนเหมือนกับราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างน้ำมัน ที่มีราคาตลาดและการแข่งขันราคากัน ทำให้หลายบริษัทเริ่มเซ็นสัญญาซื้อพลังงานสะอาดกันเยอะขึ้น บางบริษัทเซ็นซื้อด้วยราคาล่วงหน้ายาวไปเลย 15 ปีก็มี เพราะบริษัทเหล่านี้ต้องการมีต้นทุนที่ไม่ผันผวนไปตามสภาพตลาดนั่นเอง เช่น Tesco (LSE: TSCO) ที่เซ็นซื้อไฟฟ้าจากบริษัทพลังงานลมใน Scotland ยาว 13 ปี
.
แบตเตอรี่ (Battery Storage)
เนื่องจากลมและแสงอาทิตย์ไม่ได้มีให้ใช้ได้ตลอดทั้งวัน จึงต้องมีแบตเตอรี่ไว้คอยจุไฟฟ้าเก็บไว้ ดังนั้นในเทรนด์นี้ นอกจากบริษัทผู้ผลิตพลังงานสะอาดแล้วก็ยังมีบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่สามารถลงทุนได้เช่นกัน โดยเราควรลงทุนตอนต้นทุนผลิตไฟฟ้าถูกๆ เพราะผู้ผลิตจะเพิ่มการผลิตจนไฟฟ้าล้นเกินกว่าความต้องการของผู้บริโภค
.
Baillie Gifford มอง Neoen (EPA: NEOEN) เป็นผู้นำตลาดที่สำคัญ โดยปีที่แล้วบริษัทได้เริ่มเปิดใช้งานแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่สุดใน Australia ที่จุไฟฟ้าได้กว่า 250MW ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้รัฐ Victoria ของ Australia ไปถึงเป้าหมายที่จะเปลี่ยน 50% ของพลังงานในรัฐให้เป็นพลังงานสะอาดภายในปี 2030 นอกจากนี้บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่อื่นๆอย่าง CATL (SZSE: 300750) และ LG Energy (KRX: 373220) ก็น่าสนใจเช่นกัน
.
พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen)
การผลิต Green Hydrogen จะใช้พลังงานสะอาดในการผลิตไฟฟ้าด้วยการแยกน้ำออกเป็น ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน (Electrolysis) แต่การใช้ Hydrogen ยังคงมีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในบางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตปูนซีเมนต์ ที่แม้จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงการผลิตมาเป็น Hydrogen แล้ว ก็ยังคงมี CO2 รอดออกมาจากกระบวนการผลิตอยู่บ้าง
.
การผลิต Green Hydrogen จำเป็นต้องมีเครื่อง Electrolyser ซึ่งบริษัทที่จะได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้คือผู้ผลิตและพัฒนาเครื่องที่ว่า เช่น ITM Power (LSE: ITM) และ Nel (OSE: NEL) เป็นต้น
.
การลดปริมาณคาร์บอน (Carbon Reduction)
แน่นอนว่าการลดการปล่อย CO2 ขึ้นสู่บรรยากาศเป็นเรื่องสำคัญ แต่อีกมุมก็ต้องหาทางกำจัด CO2 ที่มีอยู่แล้วออกให้ได้ด้วย โดยมีบริษัทที่กำลังหาวิธีแก้ไขปัญหานี้ เช่น Climeworks ****ที่ได้พัฒนาเทคโนโลยีพัดลมยักษ์ดักจับ CO2 ซึ่งใช้พลังงานสะอาดเป็นตัวขับเคลื่อน แต่ว่าธุรกิจประเภทนี้จำเป็นต้องใช้เงินทุนสูงมากและต้องอดทนสูงจนกว่าจะเห็นเม็ดเงินคืนกลับมา
.
BottomLiner
=====
ชอบอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดแต่ไม่มีไอเดียจะลงทุนยังไง
ให้ BottomLiner ช่วยคิด
เพราะ Lithium เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เราเลือกลงทุนผ่าน OMO ในช่วงนี้
=======
Optimal Megatrend Opportunities หรือ OMO (โอโม่) เป็นพอร์ตลงทุนที่บริหารโดย BottomLiner ผ่านการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Finnomena
ใช้ Framework แบบ BottomLiner ที่ดูทั้ง Top-Down, Bottom-Up และ Sentiment
เพื่อลงทุนใน Megatrend เด่น กับกองทุนที่ใช่ พร้อม Optimize ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ได้รับ
.
เพราะไม่ใช่ทุก Megatrend จะเหมาะลงทุนอยู่ตลอดเวลา หากซี้ซั๊วเข้าไปผิด timing ลงทุนอาจติดดอยเป็นเวลานานเกินไปได้ OMO จึงได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์คนที่ อยากเกาะกระแส Megatrend แต่ไม่รู้จะลงทุนอะไร และไม่เสี่ยงเกินไป
=====
สำหรับท่านที่สนใจ ทาง BottomLiner ได้เตรียมทีมงานพิเศษไว้ดูแล ลูกค้า OMO โดยเฉพาะ
สามารถกรอกฟอร์มได้เลยครับ
https://forms.gle/jexJFhvjs9Q2Hbq49
=====
ท่านใดที่เป็นลูกค้า Finnomena อยู่แล้ว สามารถลงทุนต่อได้เลยไม่สะดุด
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://finno.me/guru-port-bottomliner
สมัครเลย คลิก https://finno.me/bottomliner