ARM เป็นใครทำไมเราควรรู้จักไว้ บริษัทมีแผนเติบโตอย่างไร โพสนี้สรุปไว้ให้แล้วใน 10 ข้อ !?
บทความนี้เป็นตัวอย่างบทความจากกลุ่ม Exclusive
เรายังมีบทความอื่น ๆ และบริการที่ช่วยให้การลงทุนต่างประเทศของคุณเป็นเรื่องง่ายขึ้นเยอะ
สมัครหรือทำความรู้จักกลุ่ม Exclusive ได้ในฟอร์มนี้เลยครับ
https://forms.gle/BgTwGCmWbvcjsYVa8
.
- ARM เป็นบริษัทออกแบบชิปที่อยู่เบื้องหลัง Smartphone ทั้งโลกกว่า 99% โดยบริษัทผู้ผลิตชิปมือถือเช่น Qualcomm, Apple และ Samsung ต่างก็ซื้อสถาปัตยกรรมชิปแบบ ARM ไปใช้ทั้งนั้น ที่ผ่านมา ARM เลยมีรายได้หลักจากการเก็บค่าสิทธิบัตร (IP) จากบริษัทผู้ผลิตชิปเหล่านี้นั่นเอง
(ARM มีรายได้หลักมาจาก US และ จีน ประมาณ 41% และ 25% ตามลำดับ)
.- รายได้ IP ที่ว่าแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือค่า Licensing ที่จะเก็บรายปีจากการนำเทคโนโลยี ARM ไปใช้ ซึ่งมีทั้งแบบซื้อเหมาเป็น Bundle หรือจะเลือกซื้อเฉพาะบาง IP ก็ได้ (ARM พยายามดึงลูกค้าให้หันมาซื้อแบบ Bundle ให้หมด) ส่วนที่สองคือค่า Royalty ที่ ARM จะเก็บเงินผู้ผลิตชิป 1-2% จากราคาชิป
.
แปลว่ายิ่งยอดขายมือถือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ชิป ARM เยอะขึ้น รายได้ส่วน Royalty ของ ARM ก็ยิ่งมากตาม
(ปี 2022 รายได้ Licensing และ Royalty คิดเป็น 36% และ 64% ของรายได้รวม) กลับกัน รายได้ส่วนนี้ก็คือต้นทุนของเหล่าผู้ผลิตชิปที่ต้องเสียให้ ARM อยู่ตลอดมา
.- รายได้ Royalty ของ ARM กว่า 46% มาจาก Product ที่ ARM เปิดตัวในช่วง 1990-2013 เนื่องจาก ARM ไม่ได้ออกแบบและขาย IP ชิป Logic แค่ในตลาดมือถือ PC หรือ Data Center เท่านั้น แต่ยังมีชิปสำหรับตลาด FPGA และ ASIC ซึ่งถูกใช้ในหุ่นยนต์ เครื่องจักร เซนเซอร์ ที่อยู่โรงงานหรือรถยนต์อีกด้วย
.
โดยชิปเหล่านี้อาจไม่ต้องการความ High-End ประมวลผลได้แรง หรือทันสมัยมากเท่าใน Smartphone เราเลยยังเห็นรายได้จากเทคโนโลยีเก่าๆของ ARM ยังเข้ามาอยู่ ตราบเท่าที่ชิปเหล่านี้ยังขายได้และเป็นที่ต้องการ
.- ปี 2022 ARM มี Market Share ในตลาดมือถือ 99%, ตลาด Industrial IoT ที่ 65%, รถยนต์ 41%, Networking 26% และ Cloud Computing ที่ 10% (ซึ่งในส่วนตลาด Cloud นี้เป็น Amazon AWS Graviton ไปแล้วกว่า 50% และอีกกว่า 40% มาจากบริษัท Tech จีน)
.- ชิป CPU ARM เริ่มถูกใช้อย่างแพร่หลายในมือถือมาตั้งแต่ช่วงปี 90 เพราะสถาปัตยกรรมแบบ RISC (Reduced Instruction Set Computer) ที่ ARM ใช้มี Energy Efficiency หรือการกินไฟต่ำเป็นตัวชูหลัก ซึ่งช่วยปลดล็อคข้อจำกัดเรื่องแบตหมดไวได้มาตั้งแต่อดีต
.- ต้องเข้าใจก่อนว่า Instruction Set คือคู่มือหรือวุ้นแปลภาษาที่ CPU ใช้ตีความภาษาคอมพิวเตอร์ 0 – 1 ให้เป็นภาษาคนและคำสั่งต่างๆ พูดง่ายๆว่า ARM เลือกใช้ RISC ซึ่งเป็นวิธีย่อคู่มือที่ว่าให้สั้น กระชับ ช่วยให้ CPU อ่านง่ายและไวยิ่งขึ้น ผลคือการประมวลผลแต่ละครั้งจะประหยัดพลังงานมากขึ้นนั่นเอง (ARM มีการปรับปรุง Instruction Set Architecture (ISA) มาตลอด ล่าสุดที่เปิดตัวในปี 2023 คือ Armv9.2)
.
กลับกัน Intel และ AMD ใช้สถาปัตยกรรม x86 หรือ CISC (Complex Instruction Set Computer) แม้จะเป็นคู่มือที่ CPU ใช้งานได้หลากหลายและซับซ้อนกว่า แต่ก็กินไฟมากกว่า RISC พอสมควร
.- ล่าสุด ARM อาจหา Growth ใหม่ผ่านการหันไปเก็บค่า Royalty จากผู้ผลิตมือถือและอุปกรณ์ที่ใช้ชิป ARM โดยตรง เช่น Xiaomi OPPO และ Vivo ที่สำคัญคือ ARM จะคิดค่า Royalty จากราคามือถือหรืออุปกรณ์นั้นโดยตรง
.
เช่น Q3 ที่ผ่านมายอดขายมือถือทั่วโลกอยู่ที่ 300 ล้านเครื่อง และราคามือถือเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ $335 เท่ากับว่า ARM จะสามารถทำเงินจากตลาดมือถือได้ที่ 300 x 335 x 1% เป็นประมาณ $1,000 mn เพิ่มขึ้นจากเดิมมหาศาล นี่เป็นสิ่งที่ตลาดกำลังคาดหวังให้เกิดขึ้น เราเลยเห็น P/E ของ ARM หลัง IPO พุ่งสูงเกินกว่า 50 เท่า แต่ความจริงบริษัทมือถือคงไม่ยอมให้ ARM เก็บเงินจาก Smartphone ได้ถึง 1%
.- ที่ผ่านมา ASP ของ ARM โดยรวมอยู่แค่ราว 9 cent หรือ $0.09 ต่อชิป และไม่เคยเพิ่มขึ้นเลยตั้งแต่ปี 2015 สะท้อนว่า ARM ตกเป็นรองในแง่ของการทำสัญญา และบริษัทออกแบบชิปไม่ได้มีอำนาจในการเจรจาต่อรองกับลูกค้า End-Market มากอย่างที่คิด เช่นเคสของ Qualcomm ที่ถึงกับฟ้องร้องให้ Apple จ่ายค่า IP ชิป Modem ที่ค้างจ่ายอยู่จำนวนมากเมื่อปี 2019
.- ใน 1-2 ปีข้างหน้า Qualcomm NVIDIA และ AMD กำลังจะใช้ชิป ARM ลุยตลาด CPU บน PC เพื่อชนกับ Apple ตลาดเลยคาดหวังว่า ARM จะได้ประโยชน์เพราะ Volume ชิป ARM ในตลาด PC กำลังจะเพิ่มขึ้นอีก บวกกับแผนคิดเงินใหม่ในข้อ 7. กำไร ARM อาจเติบโตได้แรงกระฉูดกว่าที่ผ่านมา แต่เราไม่ได้มองบวกขนาดนั้น
.
เพราะสุดท้ายแล้ว แม้ฝั่ง Hardware จะพร้อมลุย แต่ Software ยังคงต้องใช้เวลาพัฒนา เช่น Operating System (OS) และโปรแกรมที่ต้องเขียนใหม่ให้รองรับกับ CPU ของ ARM เพราะโปรแกรมและเกมส่วนใหญ่ที่เราใช้กันใน PC ใช้ Instruction Set ของ x86 ซึ่งเป็นคู่มือแปลคนละภาษากับ ARM ดังนั้น การจะนำโปรแกรม x86 มารันบน CPU ของ ARM จึงต้องผ่านการแปลงภาษาก่อนหรือเขียนใหม่แต่แรกไปเลย
.
ปัจจุบัน Microsoft ปล่อย OS ใหม่ชื่อ Windows on ARM มาให้ลองใช้กันแล้ว แต่ประสิทธิภาพยังแย่ ใช้งานโปรแกรมหรือเกมที่แปลงมาจาก x86 ได้ไม่ดีเท่าไหร่ มีดีแค่แบตอึดขึ้นมากเท่านั้น
.- RISC-V คืออีกหนึ่งทางเลือกถ้าอยากจะหนีจาก ARM เพราะเป็นสถาปัตยกรรม Open-source ที่ใช้ได้ฟรี ซึ่ง Qualcomm และ Big Tech หลายเจ้ากำลังรุมพัฒนากัน หวังเอามาทดแทน RISC ในอนาคต ถ้า ARM เกิดเก็บเงินเพิ่มได้จริง การพัฒนา RISC-V ก็อาจถูกเร่งให้ไวขึ้น แต่ดูแล้วคงต้องใช้เวลาอีกนาน
(ตอนนี้ RISC-V ถูกนำไปใช้อย่างจริงจังแค่ในตลาด FPGA และ ASIC บางส่วนเท่านั้น)
.
ไฮไลท์งบ 3Q23- รายได้รวม $806 mn เติบโต 28% YoY แต่คาด Q4 และ Q1 จะไม่ไปไหนอยู่แค่ราว $760 – 780 mn
- Growth Q3 มาจากรายได้ Licensing ที่เติบโตกว่า 106% YoY โดยบริษัทชี้ เป็นเพราะ AI Demand เร่งตัวในทุก End-Market ซึ่ง Architecture ล่าสุดของ ARM ตอบโจทย์เรื่องนี้ทั้ง Performance และ Efficiency
- แต่รายได้ Royalty หดตัว -5% YoY เพราะตลาด Smartphone ที่ผ่านมาชะลอตัว ขณะที่บริษัท Tech จีน เช่น Huawei พยายามพัฒนา RISC-V มาใช้เอง แทนการพึ่งของจาก US อย่าง ARM
.
BottomLiner