Buy & Hedge หนึ่งวิธีเอาตัวรอดจากตลาดขาลง
หลายคนน่าจะเคยเห็นวิธีของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จหลาย ๆ ท่าน
วิธีง่าย ๆ ที่รู้สึกว่าทำยากเหลือเกิน
“ซื้อสินทรัพย์ดี ๆ ในราคาที่เหมาะสม ถือยาวไปเรื่อย ๆ ถ้าพื้นฐานยังไม่เปลี่ยน”
.
แต่จะมีซักกี่คนที่ทนถือได้หละ ?
.
ยกตัวอย่างถ้าเราถือหุ้น Tesla ตั้งแต่ IPO โดยไม่ขายเลย
เราจะได้ผลตอบแทนประมาณ +24,000% หรือ 240 เด้ง!
.
แต่เดี๋ยวก่อนชีวิตไม่ง่ายขนาดนั้น
เพราะระหว่างทางเราจะต้องเจอการปรับฐาน
มากกว่า 30-50% ประมาณ 10 ครั้ง
มากกว่า 60% อีก 1 ครั้ง (ช่วงโควิดที่ผ่านมา)
ยังไม่รวมปรับฐานเล็ก ๆ น้อย ๆ 10-20% อีกนับครั้งไม่ถ้วน
.
หลายคนที่ไม่มีของ มองย้อนหลังกลับไป บอกทนได้ เพราะหุ้นดียังไงก็กลับมา
แต่คนที่อยู่ในเหตุการณ์ไม่คิดอย่างนั้นแน่นอน
(นึกถึงเหล่าหุ้น Innovation ที่ -50% หรือเหรียญหลาย ๆ เหรียญ ตอนนี้ก็ได้)
บางคนทนขาดทุนได้ยาวนาน พอราคากลับไปก็จะเกิดความกลัวว่ามันจะลงไปแรงอีก
หรือที่เรามักจะเจอคนแซวว่า “ทนดอยไม่ทนกำไร”
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ และตัวร้ายก็อยู่ไม่ไกล นั้นก็คือ…
“สภาพจิตใจ” ของเรานั้นเอง
.
แล้วมันจะมีอะไรที่ช่วยเราได้บ้าง?
นอกจากสวดมนต์ กับทำจิตใจให้แข็งแกร่งกว่ามนุษย์ทั่วไป
.
สิ่งนั้นก็คือการ Hedge หรือการทำประกันให้กับหุ้นของเรา
(ซึ่งจริง ๆ ปู่ Buffett ก็ใช้วิธีนี้ แต่ในไทยชอบ Present ให้ปู่เป็นวีรบุรุษของการซื้อและถือยาว)
.
Concept ก็คล้าย ๆ การทำประกัน
คือการที่เรานำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันความเสี่ยง เมื่อเราเกิดความกลัวว่าอาจจะเกิดสิ่งไม่คาดฝันขึ้นกับเรา
กรณีที่เราคาดเดาผิด เหตุการณ์ร้าย ๆ ไม่ได้เกิดขึ้น
เราก็จะเสียเงินการทำประกันไป
แต่กรณีที่เกิดเหตุร้ายขึ้นประกันก็จะช่วยเราได้มากทีเดียว
(ในมุมการลงทุนก็คือเดาผิดขาดทุน เดาถูกได้กำไร)
.
โดยการ Hedge สามารถทำได้หลายวิธี เช่นใช้ Option, Future, Inverse ETF หรือแม้แต่ DW ที่คนไทยนิยมก็สามารถใช้ได้ (ถ้าใช้อย่างถูกวิธี)
แต่ละผลิตภัณฑ์ก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
ไม่มีวิธีใช้ตายตัว ขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์และเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสม
หากใครถือหุ้นน้อยตัว ก็อาจใช้ Option ในการ Buy Put หรือใช้ Future ในการ Short Sell หุ้นที่เราถือได้
แต่ถ้าใครถือหุ้นจำนวนมากเช่น 50-100 ตัวหรือคนที่ถือกองทุน การมานั่งบริหารทีละตัวก็อาจจะตายก่อนได้
.
การหาว่า Portfolio ของเราเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับดัชนีอะไร จะทำให้บริหารได้ง่ายกว่า
เช่น Nasdaq ลง -1% Portfolio ของเรา ลง -2%
NASDAQ +2% Portfolio ของเรา +4%
นั้นหมายความว่า Portfolio ของเราเคลื่อนไหวเป็น 2 เท่าของดัชนี NASDAQ
.
จากนั้นเลือกใช้ Inverse ETF (ETF ที่เคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนี) เช่น
PSQ (ETF ที่เคลื่อนไหวตรงกันข้ามกับ NASDAQ),
SQQQ (ETF ที่เคลื่อนไหวตรงกันข้ามกับ NASDAQ
แต่ Leverage x 3 หรือ NASDAQ -1% : SQQQ+3%)
.
สามารถดูรายชื่อและรายละเอียดของ Inverse ETF ได้ที่
.
แล้วเราจะซื้อเท่าไหร่ดี?
อันนี้ไม่มีคำตอบตายตัว เหมือนการทำประกันนั้นแหละ ถ้าจะถามว่าเราทำเท่าไหร่ดีก็ขึ้นอยู่กับ เราคิดว่าเราจะป้องกันความเสี่ยงให้ครอบคลุมขนาดไหน
ถ้าเราจะป้องกันเสียหายจากหุ้นตกสัก 30% ของทั้งหมดที่เราต้องเสีย
เราก็อาจจะซื้อ SQQQ สัก 10%
(ถ้าเป็นการบริหารหุ้นรายตัวก็คิดแบบเดียวกันแต่แยกคิดทีละตัว)
.
หรืออีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันถ้าไม่อยาก Short หุ้นหรือดัชนีที่เราถือ
(หุ้นดีลงเสร็จเด้งใส่หน้า อาจขาดทุนได้)
ก็คือการ Short หุ้นหรือดัชนีที่คิดว่าจะลงมากกว่าหุ้นหรือดัชนีที่เราถือ เพื่อลดความผันผวนของ portfolio
(แต่จะมีความเสี่ยงมากขึ้นและต้องใช้ความรู้ความเข้าใจมากกว่า)
สมมุติว่า ถือหุ้น A และ Short หุ้นB ใน Position ที่เท่ากัน
หุ้น A ที่เราถือ -1% แต่หุ้น B ที่เรา Short – 2% แบบนี้ในวันนั้นเราจะกำไร +1%
.
วิธีดังกล่าวจะทำให้ กำไรจากการถือทรัพย์สินของเราไม่ได้อิงอยู่กับตลาดขาขึ้นอย่างเดียว แต่สามารถสร้างกำไรได้ทุกสภาพตลาด (แต่ถ้าผิดทางก็ขาดทุนนะ)
หากทำได้อย่างถูกต้องและชำนาญ นอกจากเราจะได้กำไรจากการถือหุ้นได้ยาวขึ้นแล้ว เรายังสามารถทำเงินจากความผันผวนได้ ซึ่งจะสามารถทำกำไรได้มากกว่าการ Buy & Hold
.
.
#คนไม่ชอบการคำนวนข้ามไปอ่านสรุปเลย
ถ้าฟังแล้วยัง งงๆ มาคำนวนกัน
สมมุติเหตุการณ์ว่าราคาหุ้นขึ้น-ลงแบบนี้
$100 >>$150>>$130>>$170
…
…
#คนถือยาว Buy & Hold
ซื้อหุ้นมา 100 หุ้น ราคา $100 = $10,000
หุ้นวิ่งไป $170 ได้กำไร 70%
มูลค่าหุ้นทั้งหมด = $17,000
…
ซื้อหุ้นมา 100 หุ้น ราคา $100 = $10,000
หุ้นขึ้นไป $150 คิดว่าจะลง ขายที่ $145
เงินที่ได้ $14,500
หุ้นลงมา $130
ซื้อหุ้นคืนที่ $135 ด้วยเงิน $14,500 ได้หุ้น 107.4 หุ้น
($14,500/$135)
ขายหุ้นที่ $170 มูลค่าทั้งหมดที่ได้คือ $170×107.5
= $18,275
…
#ถือยาวพร้อมซื้อประกัน Buy & Hedge
ซื้อหุ้นมา 100 หุ้น ราคา $100 = $10,000
หุ้นขึ้นไป $150 คิดว่าจะลง ขายที่ $145
(ขายออกมา 20%(จาก 100 หุ้น) = $145×20หุ้น = มีเงินสด $2,900)
.
เปิด short ที่ $145 Leverage x3 เป็นมูลค่า $2,900
หุ้นลงมาแล้วเราปิด Short ที่ $135 (ลงมา -6.90% หรือจาก 145 → 135)
Short Position จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 20.7% หรือ 6.9 x 3
คิดเป็นมูลค่ารวม = $2,900 x (1 + 20.7%) = $3,500
.
เอาเงิน $3,500 กลับเข้าซื้อหุ้นที่ราคา $135 จะได้หุ้น ($3,500/$135) = 25.9 หุ้น
.
หุ้นไป $170
.
$170×80(หุ้นที่เหลือหลังขายไปซื้อ short) = $13,600
.
หุ้นที่ซื้อเพิ่มที่ราคา $135 จะมีมูลค่า = $170×25.9 (จำนวนหุ้นที่ได้จากการซื้อหลังปิด short)
= $4,403
มูลค่าหุ้นทั้งหมด = $15,300+$4,403 =$19,703
.
.
จากตัวอย่าง
การ Buy & Hedge ให้ Return
ที่มากกว่า Buy and Hold =15.9%
และมากกว่าการ Trade 7.8%
.
ซึ่งจากวิธีดังกล่าว ทำให้มีคนสามารถทำกำไรจากการถือ Tesla ตั้งแต่ IPO ได้มาก +60,000%
จากการทำการ buy & Hedge บน Tesla กว่า 10 ปี
ทั้งที่ Tesla +24,000% ตั้งแต่ IPO
.
บทความนี้ค่อนข้างลงรายละเอียด และแนะนำถึงกลยุทธ์การลงทุนซับซ้อน ซึ่งไม่เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาติดตามการลงทุนมากนัก จึงขอให้ศึกษากันอย่างระมัดระวังนะครับ
.
ข้อเสียกลยุทธ์ Buy and Hedge ก็มีเยอะ เช่น ถ้าเราไม่แม่นจริง การลดสัดส่วนการถือหุ้นแล้วมาซื้อ Option hedge เพราะคิดว่าจะตก แต่หุ้นดันขึ้นก็ทำให้เราอดกำไรฟรีๆ
.
ดังนั้นควรใช้กลยุทธนี้ควรมีความรู้ในการลงทุนท้ัง macro, fundamental technical, money management ระดับหนึ่งจึงจะได้ผลดี
.
นี่คือตัวอย่างบทความสุด Exclusive ในกลุ่มของ BottomLiner สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/1366426383372492/posts/5165688466779579/
.
BottomLiner