#สรุป แนวคิด หลีกเลี่ยงการใช้ PE Ratio ในการประเมินมูลค่า แล้วมาใช้ Earning Yield จะดีกว่าไหม ?
PE เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับนักลงทุนมาช้านาน แต่มันสื่อความหมายได้ยาก คุณสุชีล นารูลา อดีตกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ ได้เสนอแนวคิดว่า เปลี่ยนมาใช้ Earning Yield ดีกว่าไหม
.
วันนี้ BottomLiner จะมาสรุปให้ฟังกันครับ และเสริมคำอธิบายเพิ่มเติม มือใหม่อ่านง่ายอ่านดี
—
ขอท้าวความอธิบาย
เวลาอธิบายง่ายๆ pe ratio คืออะไร เราอาจจะตอบง่ายๆว่า ลงทุนไปวันนี้ กี่ปีคืนทุน .. จริงๆแล้วมันเป็นการกลับเศษส่วน จาก PE เป็น EY (earning yield) คืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนต่อปี
.
PE เลขเดิม 11 ปีที่แล้ว อาจจะไม่เหมือนตอนนี้ เดิมอาจจะถูก ตอนนี้อาจจะแพง และที่ดัชนี SET 1600 PE ก็ไม่เท่ากัน สร้างความงงสับสน
—-
ข้อเสียของ PE Ratio คือมันไม่มีความหมายในตัวเอง ต้องนำไปเทียบกับอะไรบางอย่างถึงจะบอกได้ เช่น เทียบคู่แข่ง หรือเทียบอดีต แต่ปัญหาคือสภาวะในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปแล้ว
.
การเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วง 11 ปี ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของ PE เนื่องจากขึ้นแต่ราคา (P) แต่ กำไรของบริษัทจดทะเบียนฯ (E) วิ่งตามไม่ทัน
.
ในขณะที่ ดอกเบี้ยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาต่ำมาก ส่งผลให้คนต้องวิ่งหาผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแทนการทนฝากไว้กับธนาคารหรือซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่แทบจะไม่ได้อะไรกลับมา ก่อนที่เงินเฟ้อจะกัดกินจนหมด
.
หุ้น ก็เป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่คนจำนวนมากให้ความสนใจและเข้ามาลงทุน จึงดันให้ PE ตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้น
.
.
จะเห็นว่าระหว่างเดือนธันวาคมปี 2010 – 2021 ดัชนี SET index เพิ่ม 61% (1,033 → 1,658) แต่กำไรต่อหุ้น เพิ่มแค่ 14% เท่านั้น ( 83.3 → 94.8 )
ส่วนที่เหลือเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของ PE จาก 12.4 ไป 17.4 เพิ่มราว 40% หมายความว่านักลงทุนให้มูลค่าเพิ่มกับตลาดหุ้นทั้งที่กำไรไม่ได้เพิ่มซักเท่าไหร่
.
แต่อย่างที่บอกไปเจ้า PE ไม่ได้มีความหมายในตัวมันเอง ต้องนำไปเทียบกับหุ้นที่ทำธุรกิจคล้ายกันหรือเทียบ PE ในอดีต
.
ถึงตรงนี้ เพียงแค่เรากลับเศษส่วน จาก P/E เป็น E/Y Earning Yield ก็จะเข้าใจไดัง่ายขึ้นมาก เช่น PE 20 เท่า จะมี EY = 5% หรือ 1 หาร 20)
.
โดยหนึ่งในข้อได้เปรียบของ Earning Yield เป็นการนำไปเทียบกับทรัพย์สินอื่นได้ง่ายกว่า
เช่นการเทียบกับตลาดตราสารหนี้ สมมติพันธบัตรรัฐบาลอยู่ที่ 1.8% แล้ว Earning Yield หุ้นเราอยู่ที่ 6.8% (PE ประมาณ 14 เท่า) แสดงว่ามีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่าพันธบัตรรัฐบาล 5% ( 6.8 → 1.8 ) ซึ่งมองเป็น Equity Risk Premium นั่นเอง
.
และจากข้อมูลในอดีตแม้ดอกเบี้ยจะลด แต่ค่า Equity Risk Premium ไม่ได้เปลี่ยนมากนัก (กลับกัน PE เพิ่มขึ้นเยอะ)
ทำให้ Equity Risk Premium เหมาะจะนำมาประเมินมูลค่าหุ้น ซึ่งก็เป็นการนำไปคิด Earning Yield ต่อไป
.
สรุปข้อได้เปรียบ Earning Yield
1. นำไปเทียบกับตราสารหนี้ได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะ Earning Yield Gap ยอดฮิตซึ่งเหมาะมากในยุคดอกเบี้ยขาขึ้นที่กำลังจะมาถึง
2. มีความหมายในตัวเอง มีสมการค่อนข้างแน่นอน นำไปคำนวณต่อได้ง่าย (Earning Yield = ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล + Equity Risk Premium)
3. อธิบายให้มือใหม่เข้าใจได้ง่ายกว่า อย่าง Earning Yield = 5% แปลได้ง่ายๆว่า ลงทุน 100 จะได้กำไร 5 แต่ถ้าจะบอกว่า PE = 20 ต้องอธิบายกันซักพักเลยว่าคืออะไร
.
BottomLiner